อุปกรณ์ Fire Alarm
อุปกรณ์ระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้ fire alarm
ระบบไฟอลาม อุปกรณ์ไฟอลาม เครื่องตรวจจับสัญญาณไฟไหม้ เครื่องตรวจจับความร้อน เครื่องตรวจจับควัน ป้ายทางออกฉุกเฉิน โคมไฟฟ้าฉุกเฉิน Notifier Fire Alarm System
บริการติดตั้ง ตรวจเช็ค ซ่อมแซม ระบบไฟอลาม
- ตู้ควบคุมระบบไฟอราม
- อุปกรณ์กำเนิดสัญาณเตือนและไฟแสดงตำแหน่ง (Notification Appliances and Lamps)
- Graphic Annunciator, Fire Alarm Annunciator
- Heat Detector
- Smoke Detector
- อุปกรณ์กดสัญญาณแจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Alarm Box)
- ตู้รวมอุปกรณ์แจ้งเหตุและแสดงสัญญาณเตือน
- ชุดจ่ายไฟช่วย (Auxiliary Power Supply Unit) และ แบตเตอรี่
Fire Alarm Systems หรือระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือระบบที่มีไว้สําหรับแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ไฟไหม้โดย จะใช้อุปกรณ์ตรวจจับ ชนิดต่างๆกัน ออกไป ตามความเหมาะสม เช่น Smoke Detector, Heat Detector, Manual Pull Station ( Manual Call Point ) เป็นต้น ซึ่ง จะทําให้เราสามารถรับรู้และแก้ไขไม่ให้ไฟไหม้นั้น ลุกลามจนไม่สารมารถควบคุมได้ ตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ต้องตรวจอะไรบ้างวันนี้เรามีรายละเอียดมาให้ได้รู้
ส่วนประกอบของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System Component)
1. ชุดจ่ายไฟ (Power Supply)
ชุดจ่ายไฟ เป็นอุปกรณ์แปลงกําลัง ไฟฟ้าของแหล่ง จ่ายไฟมาเป็นกําลังไฟฟ้ากระแสตรง ที่ใช้ปฎิบัติงานของระบบ และจะต้องมีระบบไฟฟ้าสํารอง เพื่อให้ระบบทํางานได้ในขณะที่ไฟปกติดับ
2. แผงควบคุม (Fire Alarm Control Panel)
เป็นส่วนควบคุม และตรวจสอบการทํางานของอุปกรณ์และส่วนต่างๆในระบบทั้งหมด จะประกอบด้วยวงจรตรวจคุมคอยรับสัญญาณ จากอุปกรณ์ เริ่มสัญญาณ, วงจรทดสอบการทำงาน, วงจรป้องกันระบบ, วงจรสัญญาณแจ้งการทำงานในสภาวะปกติ และภาวะขัดข้อง เช่น สายไฟจากอุปกรณ์ตรวจจับขาด, แบตเตอรี่ตํ่า หรือไฟจ่ายตู้แผงควบคุม โดนตัดขาดเป็นต้น ตู้แผงควบคุม (FCP)จะมีสัญญาณไฟและเสียงแสดงสภาวะ ต่างๆบนหน้าตู้ เช่น
– Fire Lamp : จะติดเมื่อเกิดเพลิงไหม้
– Main Sound Buzzer : จะมีเสียงดังขณะแจ้งเหตุ
1.ชุดจ่ายไฟ
2.แผงควบคุม
3.อุปกรณ์ประกอบ
4.อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ
5.อุปกรณ์แจ้งสัญญาณ
– Zone Lamp : จะติดค้างแสดงโซนที่เกิด Alarm
– Trouble Lamp : แจ้งเหตุขัดข้องต่างๆ
– Control Switch: สําหรับการควบคุม เช่น เปิด/ปิดเสียงที่ตู้ และกระดิ่ง, ทดสอบการทํางานตู้, ทดสอบBattery, Reset ระบบหลังเหตุการณ์เป็นปกติ
3. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices)
เป็นอุปกรณ์ต้นกําเนิดของสัญญาณเตือนอัคคีภัย ซึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
3.1 อุปกรณ์เริ่มสัญญาณจากบุคคล (Manual Station) ได้แก่ สถานีแจ้งสัญญาณเตือนอัคคีภัยแบบใช้มือกด
3.2อุปกรณ์เริ่มสัญญาณโดยอัตโนมัติเป็นอุปกรณ์อัตโนมัติ ที่มีปฎิกิริยาไวต่อสภาวะตามระยะต่างๆของการเกิดเพลิงไหม้ ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับควัน (SmokeDetector) อุปกรณ์ตรวจจับ ความร้อน (HeatDetector) อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (FlameDetector) อุปกรณ์ตรวจจับ แก๊ส (GasDetector)
4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณด้วยเสียงและแสง (Audible & Visual Signalling Alarm Devices)
หลังจากอุปกรณ์เริ่มสัญญาณทํางานโดยส่ง สัญญาณมายังตู้ควบคุม(FCP) แล้วFCPจึง ส่งสัญญาณออกมาโดยผ่านอุปกรณ์ ได้แก่ กระดิ่ง, ไซเรน, ไฟสัญญาณ เป็นต้น เพื่อให้ผู้อยู่อาศัย, ผู้รับผิดชอบ หรือเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ทราบว่ามีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น
5.อุปกรณ์ประกอบ (Auxiliary Devices)
เป็นอุปกรณ์ที่ทํางานเชื่อมโยงกับระบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมป้องกันและดับเพลิง โดยจะถ่ายทอดสัญญาณระหว่างระบบเตือนอัคคีภับกับระบบอื่น เช่น
5.1 ส่งสัญาณกระตุ้นการทํางานของระบบบังคับลิฟท์ลงชั้นล่าง, การปิดพัดลมในระบบปรับอากาศ, เปิดพัดลมในระบบระบายอากาศ, เปลี่ยนแปลงเพื่อควบคมุ ควันไฟ, การควบคุมเปิดประตูทางออก,
เปิดประตูหนีไฟ, ปิดประตูกันควันไฟ, ควบคุม ระบบกระจายเสียง และการประกาศแจ้งข่าว, เปิดระบบดับเพลิง เป็นต้น
5.2 รับสัญญาณของระบบอื่นมากระตุ้นการทํางานของระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย เช่น จากระบบพ่นน้ำ ปั๊มดับเพลิง ระบบดับเพลิงด้วยสารเคมี อัตโนมัติ เป็นต้น